กลับมาอีกแล้วกับบทความดีๆของ ร้านแว่นตา GIFTGREATS ร้านแว่นตาของคนทุกวัย วันนี้มีข้อมูลสาระดีๆมาฝากกันอีกเช่นเคย และแน่นอนว่าเกี่ยวกับดวงตาค่ะ หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินชื่อโรคของปัญหาสายตาอย่าง โรคจอประสาทตาเสื่อม และวันนี้เราจะมาเขียนเกี่ยวกับอีกสาเหตุหนึ่งของโรคจอประสาทตาเสื่อม อย่างการทานอาหาร และอาหารอะไรบ้างที่จะช่วยบำรุงดวงตาของเราให้แข็งแรง

ก่อนอื่นที่จะพูดถึงเรื่องการป้องกัน โรคจอประสาทตาเสื่อม เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร และอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้บ้าง ?

โรคจอประสาทตาเสื่อม คือ . . .

โรคที่เกิดจากความผิดปกติบริเวณจุดกลางรับภาพของจอประสาทตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นเฉพาะภาพตรงกลาง ทำให้เรามองเห็นภาพบิดเบี้ยวไม่ตรง การมองเห็นสีลดประสิทธิภาพลง ต้องใช้แสงมากในการมองเห็น ซึ่งสัญญาณเตือนของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม คือ ตาพร่ามัว ต้องใช้แสงมากในการมองเห็น ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากดูแลรักษาอย่างถูกวิธีก็สามารถชะลอความรุนแรงของอากการโรคจอประสาทตาเสื่อมได้  

สาเหตุการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม 

โรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดจากได้หลายสาเหตุ ทั้งจากปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้อย่างปัจจัยทางพันธุกรรม และพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีที่ถูกสะสมมาเรื่อย จนก่อเกิดเป็นโรค ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงต่อโรคจอประสาทตาเสื่อม เช่น  ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีความดันเลือดสูง การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป และโดยส่วนใหญ่มักเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และอีกเหตุผลที่เสี่ยงต่อโรคจอประสาทตาเสื่อมที่คนส่วนใหญ่นึกไม่ถึงคือ ผู้ที่มีสายตาสั้นมากๆ ดังนั้น หากใครมีสายตาสั้นมากๆควรสวมใส่แว่นตาที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยในเรื่องของปัญหาทางสายตาและลดความเสี่ยงการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม

ลูทีน สารอาหารบำรุงสายตา

จอประสาทตา จะมีจุดโฟกัสที่เรียกว่า แมคูลา ลูเตีย (macula lutea) มีสารสี  ที่เป็นสีเหลือง ซึ่งมี ลูทีน (lutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารประกอบ 2 ตัวนี้ ทำหน้าที่ ป้องกันเซลล์รับแสงจากอันตรายจากอนุมูลอิสระ นอกจากนั้นลูทีนและซีแซนทีนยังมีหน้าที่กรองแสงสีฟ้าได้ถึง 40% ก่อนที่แสงจะถึงแมคูลา ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ลูทีนและซีแซนทีนสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้

ซึ่งลูทีน และซีแซนทีนจัดอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ ซึ่งร่างกายของเราไม่สามารถสร้างสารประกอบเหล่านี้ได้ จำเป็นต้องรับประทานอาหารเพื่อรับสารอาหารเหล่านี้ และอาหารเหล่านี้เราสามารถหาทานได้ตามธรรมชาติในผักใบเขียวและผลไม้ 

อ้างอิง : https://herbitia.com/eye-10-vegetable-lutein/